อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร

ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้ ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86 ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/206 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2532 เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบ เพื่อนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดบริเวณพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่จอกหลวง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) บางส่วน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อไป

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง

ต่อมาได้มีวิทยุกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0712 ทับ 97 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2534 ให้อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ประสานงานกับหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และให้สำรวจพื้นที่บางส่วนของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และพื้นที่วนอุทยานโป่งเดือด ในท้องที่ตำบลเมืองคอน อำเภอเชียงดาว และตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองกาย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมประมาณ 118,906.25 ไร่ หรือ 190.25 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงมาก มีจุดเด่นที่สวยงาม เช่น โป่งเดือด น้ำตก ลุ่มน้ำแม่แตง รวมทั้งความหลากหลายของพืชพรรณ และสัตว์ป่าที่ชุกชม มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดยด่วน

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ห้วยน้ำดัง

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกืดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 80 ของประเทศ


เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

 เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (Chiang Mai Night Safari) เป็นสวนสนุกบนพื้นฐานธรรมชาติ (Nature Theme Park) ของรัฐบาลที่สร้างขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ จังหวัดเชียงใหม่นอกเหนือจากศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี และความสวยงามตามธรรมชาติของป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งถือเป็นมนต์เสน่ห์ที่สำคัญยิ่ง ของจังหวัดเชียงใหม่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง การท่องเที่ยวในภูมิภาคอินโดจีน และประเทศจีนตอนล่าง รวมถึงบางประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ พร้อมกับการยกระดับสนามบินจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นสนามบินนานาชาติ ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ หลั่งไหลเข้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวเหล่านี้จะได้ใช้เวลาว่างยามค่ำคืนในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีให้ เป็นประโยชน์ในการสร้างความรื่นเริง หรรษา พักผ่อนหย่อนใจเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า นำไปสู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ทั้งด้านคุณภาพและความหลากหลาย
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในเขตตำบลหนองควาย อำเภอหางดง และตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ในพื้นที่ 819 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ที่บางส่วนยังสมบูรณ์ และมีการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีอยู่ห่างจากกลางเมืองเชียงใหม่ประมาณ 12 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางจากสนามบินเชียงใหม่ สถานีขนส่งหรือสถานีรถไฟประมาณ 15 – 20 นาที จึงนับได้ว่าเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีอยู่ท่ามกลางป่าธรรมชาติอันสงบ สวยงาม ร่มรื่น ยากที่จะหาได้ในปัจจุบัน และเป็นป่าธรรมชาติที่อยู่ใกล้เมืองที่สุดหรือในเมือง
แห่งเดียวในประเทศไทย

ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว นอกจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประชาชนโดยทั่วไปแล้ว เชียงใหม่ไนท์ซาฟารียังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัวทุก เพศทุกวัยร่วมกันทำกิจกรรม จึงทำหน้าที่เสมือนเป็นสื่อสัมพันธ์ของสมาชิกครอบครัว 3 รุ่นอายุ
(ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ และลูก) มาใช้ชีวิตร่วมกันจรรโลงสถาบันครอบครัว ที่นับวันจะเลือนรางหายไปจากสังคมไทย ให้กลับคืนมาอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ได้เริ่มเปิดให้เข้าชมครั้งแรกอย่างไม่เป็นทางการ
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 และเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 ขณะนี้มีผู้เข้าชมประมาณ 2.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่คาดว่าจะให้มีผู้เข้าชม 1.3 ล้านคนต่อปี และสามารถเลี้ยงตนเองได้หลังจากปีที่ 7 จึงนับว่าเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีกำลังเดินทางไปตามแผนวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analysis) อย่างมีความมั่นใจยิ่ง

ในการจัดสร้างเชียงใหม่ไนท์ ซาฟารีมีเป้าหมายเพื่อที่จะจัดสร้างสวนสนุกบนพื้นฐานของธรรมชาติที่เป็นเลิศ ระดับโลก ประกอบด้วยหลายแผนงาน ในขณะนี้ได้ดำเนินการในส่วนแรกแล้วเสร็จ คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับสัตว์ป่า น้ำพุดนตรี (Musical Fountain) และม่านน้ำ (Water Screen) และจะสร้างสิ่งอื่น ๆ เพิ่มเติมในโอกาสต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เป็นเลิศในระดับโลกที่ครบถ้วนสมบูรณ์และยั่งยืน
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีได้ถูกจัดสร้างเป็นแห่งที่ 3 ของโลก ต่อจากสิงคโปร์ไนท์ซาฟารี และของจีนที่เมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีนเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมีขนาดเป็น 2 เท่าของสิงคโปร์ไนท์ซาฟารี และเป็นไนท์ซาฟารีที่มีธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างสวยงามที่สุดในโลก

ถนนคนเดิน

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าใครที่เดินทางมาเที่ยวเมืองเชียงใหม่ทั้งคนไทยและต่างชาติมักจะไม่พลาด
โปรแกรมท่องเที่ยว ถนนคนเดิน

….ไม่ต้องใครอื่น ขนาดคนเชียงใหม่เองก็ยังนิยมชมชื่น ติดอกติดใจบรรยากาศถนนคนเดิน
ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านักท่องเที่ยวชาติไหนๆ ถนนคนเดิน จึงกลายเป็นสีสัน
และปรากฏการณ์ใหม่ทางการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และน่าจะเป็นถนนคนเดินที่คงอยู่นานที่สุดในประเทศไทยไปแล้วในเวลานี้

ถนนคนเดินของเชียงใหม่ เป้าหมายมิใช่การเป็น street fairล้วนๆ แต่ความน่าสนใจ
อยู่ตรงที่การเป็นชุมชนแห่งการปะทะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันทั้งผู้ซื้อ
ผู้ขาย-นักท่องเที่ยว-นักแสดงดนตรีเปิดหมวก-ผู้ประกอบการ SMEs และการแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมของล้านนา

….ถนนคนเดินวันอาทิตย์บนถนนราชดำเนิน ตัดกับถนนพระปกเกล้าที่จัดขึ้นทุกบ่าย-ค่ำ
ยันดึกทุกวันอาทิตย์ กลายเป็นตลาดบนถนนรูปกากบาทตัดใจกลางเมืองเชียงใหม่
ที่มีคูเมืองล้อมรอบ ผู้คนคลาคล่ำ ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ เดินสวนกันแบบไม่ต้องมีกฎจราจรการเดิน และนับเป็นถนนคนเดินนำร่องแห่งแรก
ที่รัฐบาลและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ริเริ่มจัดขึ้นที่ถนนท่าแพในปี 2545 หลังจากจัดขึ้นประมาณ 10 ครั้ง ก็ได้มอบหมายให้เทศบาลนครเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพดูแล
จากนั้นได้ย้ายมาปักหลักเปิดที่ ถนนราช ดำเนิน จนประสบความสำเร็จจนทุกวันนี้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเชียงใหม่ และถูกบรรจุในโปรแกรมการท่องเที่ยวโลกไปแล้ว

….ถนนคนเดินแห่งนี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สถานที่ให้ผู้คนเดินจับจ่ายซื้อของที่ระลึก แต่ยังเป็นถนนที่สร้างกิจกรรมหลากหลายให้เกิดขึ้น ทั้งนักดนตรีไทยตัวน้อยและรุ่นใหญ
่ที่นั่งเล่นดนตรีเปิดหมวกกลางถนนอย่างไม่ขัดเขิน ซุ้มนวดแผนโบราณแทรกซึมไปทุกระยะ สินค้าหัตถกรรมเรียงรายสลับกันตลอดเส้นทาง มีทั้งแบบชิ้นเดียวในโลก และทำกับมือให้เห็นกันจะจะก็มีอยู่มาก เป็นสีสันที่หาดูได้ยาก

…และหากเจาะไปแต่ละร้านก็อาจจะพบกับสินค้าแปลกใหม่ ด้วยไอเดียธุรกิจใหม่ๆ และอาจจะทึ่งว่าคิดได้อย่างไรกลายเป็นสถานบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ หรือ SMEs เกิดขึ้นมากมาย บางรายประสบความสำเร็จเป็นผู้ส่งออก และรับออร์เดอร์เป็นหลักล้านบาท

จากข้อมูลของเทศบาลนครเชียงใหม่ พบว่าปัจจุบันมีจำนวนร้านค้าบนถนนราชดำเนินและจุดสี่แยกกลางเวียงถนนที่เชื่อมต่อกับ
ถนนราชดำเนิน รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 3,000 ร้านค้า มีผู้คนเดินอาทิตย์ละไม่ต่ำกว่า 50,000 คน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวคนไทยที่มาจากต่างจังหวัดประมาณ 30% คนภายในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียงประมาณ 50% และนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 20% และล่าสุดจากการประเมินมูลค่าการขายทั้งหมดพบว่ามีเงินสะพัดต่อปีมากกว่า 200 ล้านบาท

นอกเหนือจากความสำเร็จของ ถนนคนเดินวันอาทิตย์ที่ลอยติดลมบนไปไกลแล้ว เทศบาลนครเชียงใหม่ยังมีความพยายามที่ จะปลุกปั้นถนนสายอื่นๆ ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ให้กลายเป็นถนนคนเดินขึ้นมาอีกเส้นหนึ่ง นั่นคือ ถนนคนเดินวัวลาย

…บรรยากาศของถนนคนเดินวัวลายมิได้แตกต่างจากถนนราชดำเนินมากนัก แต่เสน่ห์อยู่ที่ถนนที่มีเอกลักษณ์ทางด้านเครื่องเงิน การตีเงิน มีชุมชนดั้งเดิมที่ยังอนุรักษ์หมู่บ้านผลิตเครื่องเงินโบราณของจังหวัดเชียงใหม่ไว้อยู่

…ถนนคนเดินสายนี้ เปิดขึ้นทุกบ่าย-ค่ำของทุกวันเสาร์ เพื่อต้องการพลิกฟื้นประวัติ ศาสตร์ของแหล่งชุมชนผลิตเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่และเพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่
ที่หลากหลายให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศมีแหล่งซื้อขาย พักผ่อน
และซึมซับบรรยากาศแบบทางเหนืออีก แห่งหนึ่ง โดยได้เริ่มทดลองตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2547 ก
ระทั่งล่าสุดได้ประกาศทำโครงการต่อเนื่องไปอีกโดยไม่มีกำหนด เพื่อพัฒนาให้เป็น
แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่แบบยั่งยืนของเชียงใหม่ควบคู่กับถนนคนเดินวันอาทิตย์

…ภาพในวันนี้ของถนนคนเดินเชียงใหม่ ถือเป็น road event marketing เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดท่องเที่ยวที่ขายตัวเองได้ มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและกิจกรรมที่เด่นชัด สามารถผ่อนคลายและช็อปปิ้งได้ในเวลาเดียวกัน เป็นโปรดักต์ชิ้นงามที่ต้องเร่งพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแบบยั่งยืนต่อไป

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาแดนลาว สูงประมาณ 1,900 ม. จากระดับน้ำทะเล ภูมิประเทศเป็นเขาหินปูนและหินดินดาน อยู่ติดกับพรมแดนพม่า จึงมีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไป มีอากาศหนาวเย็นยาวนานเกือบตลอดปีและมีอุณหภูมิต่ำมากในฤดูหนาว จึงเหมาะสมในการจัดตั้งเป็นสถานีวิจัยพืชเมืองหนาวแห่งแรกของโครงการหลวง โดยเป็นสถานีหลักในการศึกษาวิจัยผลไม้ที่สำคัญที่สุดของประเทศ นักท่องเที่ยวนิยมมาดูขั้นตอนการปลูกการดูแล และการผลิตพืชผักเมืองหนาว ที่เรียกว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม

ในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือน ต.ค.-ก.พ. ดอกไม้พันธุ์ไม้เมืองหนาวหลายชนิด เช่น บ๊วย ท้อ นางพญาเสือโคร่ง และอื่นๆ จะออกดอกงามสะพรั่งไปทั่วดอย

ที่ตั้งและการเดินทาง ต.แม่งอน อ.ฝาง

รถยนต์ส่วนตัว เดินทางสู่ดอยอ่างขางได้สองเส้นทาง คือ เส้นทางด้าน อ.ไชยปราการ และเส้นทางด้านบ้านอรุโณทัย

ด้าน อ.ไชยปราการ ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 จากตัวเมืองเชียงใหม่ ผ่าน อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.เชียงดาว และ อ.ไชยปราการ ระหว่างทางจาก อ.เชียงดาวไป อ.ไชยปราการ เส้นทางค่อนข้างคดเคี้ยว เมื่อถึงหลัก กม.137 บริเวณตลาดแม่ข่า เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1249 ไปอีก 25 กม. เส้นทางสูงชันและคดเคี้ยว หลายช่วงเป็นทางโค้งหักศอก คนขับต้องมีความชำนาญ อันตรายมากโดยเฉพาะเส้นทางลงดอยเที่ยวกลับ

ส่วนด้านบ้านอรุโณทัย ถนนลาดยางตลอดสายค่อนข้างแคบแต่คดเคี้ยวน้อยกว่าเส้นทางขึ้นด้านบ้านแม่ข่า ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 เมื่อผ่าน อ.เชียงดาว ประมาณ 6 กม. เลี้ยวซ้ายที่สามแยกเมืองงาย เข้าทางหลวงหมายเลข 1178 ผ่านบ้านเมืองงาย นาหวายจนถึงด่านตรวจของ ตชด. ที่บ้านรินหลวง หลัก กม.31 เลี้ยวขวาไปบ้านอรุโณทัย-ดอยอ่างขาง มีป้ายบอกทางชัดเจน ประมาณ 7 กม. ถึงบ้านอรุโณทัย เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1340 สภาพถนนค่อนข้างแคบ ขึ้นดอยอีก 45 กม. บริเวณหลัก กม. 30-34 ก่อนถึงบ้านหลวง ถนนจะเลียบไปตามสันเขา มีทิวทัศน์สวยงามมาก จากนั้นจะเข้าบ้านหลวง บรรจบทางหลวงหมายเลข 1249 ที่ตัดขึ้นดอยอ่างขางจากด้านบ้านแม่ข่า

รถรับจ้าง เดินทางสู่ดอยอ่างขางด้าน อ.ไชยปราการ จากเชียงใหม่ลงรถที่ตลาดแม่ข่า นั่งรถสองแถว หรือรถตู้ที่วัดหาดสำราญบริเวณบ้านแม่ข่า ลงรถที่หน้าโครงการหลวงอ่างขาง สามารถเหมาให้พาเที่ยวดอยอ่างขางและบริเวณใกล้เคียง เช่น โครงการหลวงอ่างขาง บ้านขอบด้ง จุดชมทิวทัศน์ บ้านคุ้ม บ้านนอแล เป็นต้น

หากเช่าเหมาขึ้นดอย คิดค่าเช่าทั้งวัน 1,400 บาท ค้างคืน 1,600 บาท ถ้าไปนอแลต้องเพิ่มค่าน้ำมันอีก 300 บาท ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก มีจุดกางเต็นท์พักแรมอยู่ในสวนสน ริมทางก่อนถึงทางลงไปสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง 1 กม. มีห้องน้ำสาธารณะ และก๊อกน้ำใช้ ค่าบริการ 20บาท/คน/คืน นอกจากนี้ยังมีบ้านพักหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ ติดต่อศูนย์รวมหน่วยจัดการต้นน้ำ ถ.ห้วยแก้ว อ.เมือง โทร. 0-5321-4577 ต่อ 08 และบ้านพักของเอกชน

บริเวณหน้าโครงการหลวงอ่างขาง มีย่านร้านค้า ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ของชาวจีนฮ่อจำนวนมากจรกลายเป็นตลาดย่อมๆ สินค้าขึ้นชื่อ คือ โสมตังกุยสด ปลูกได้เฉพาะที่อ่างขาง ขายเป็นกิโล นักท่องเที่ยวนิยมซื้อไปตุ๋นไก่หรือหมู ใบโสมใช้ผัดเช่นเดียวกับผัก รสชาติหอมฉุน เผ็ดร้อน นอกจากนี้ยังมีชาอูหลง ชาโสม ชาสมุนไพร และกำไลถักฝีมือชาวมูเซอ ส่วนร้านอาหารรสชาติดีคือร้านไก่ย่างโสมตังกุย อยู่ใกล้ลานจอดรถ อาหารจานเด็ดคือ ใบโสมผัด ไก่ย่างอบโสม ใกล้กันมีร้านจีนฮ่ออิสลาม ขายก๋วยเตี๋ยวแกงคล้ายข้าวซอย ซาลาเปาแบบยูนนาน ไส้หมูและไส้ถั่วดำ

ประวัติ พ.ศ.2512 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอแดง บ้านห้วยผักไผ่ ต.ม่อนปิน อ.ฝาง ทอดพระเนตรเห็นบริเวณอ่างขางซึ่งเป็นหุบเขามีอากาศหนาวเย็น แต่ชาวไทยภูเขาแถบนั้นตัดไม้ทำลายป่าจนโล่ง ทั้งยังปลูกต้นฝิ่นออกดอกพราวไปทั้งดอย สภาพพื้นที่เช่นนี้หากมีการพัฒนาจะสามารถปลูกพืชเมืองหนาวได้ดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินในบ้าน คุ้มประมาณ 10 ไร่ ในราคา 1,500 บาท สำหรับจัดตั้งเป็นสถานีวิจัยพืชเมืองหนาว และขยายมาเป็น 350 ไร่ ในปัจจุบัน

สิ่งน่าสนใจ
สถานีเกษตรโครงการหลวงอ่างขาง
ที่นี่เป็นสถานที่ทดลองพันธุ์ไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ และพืชผักผลไม้ โดยในระยะแรกทำการทดลองปลูกท้องแอปเปิ้ล สาลี่ บ๊วย ต่อมาจึงทดลองปลูกกีวีฟรุต สตรอเบอรี พลับ รัสเบอรี่ อโวคาโด เสาวรส และอื่นๆ ส่วนผักเมืองหนาวมีทั้งผักกาดแก้ว ปวยเล้ง เห็ดหอม แครอต แรดิช อาติโชก กะหล่ำม่วง ไม้ดอก เช่น ลิลลี่ กุหลาบ เยอบีรา และอีกหลายสิบชนิด จึงเหมาะที่จะขึ้นไปท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาวซึ่งดอกไม้จะบานเต็มหุบเขา

ภายในสถานวิจัยยังมีบริเวณที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น
-สวนบอนไซและพรรณไม้เขตกึ่งร้อนและหนาว จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530 โดย ม.จ.ภีศเดช รัชนี ทรงเห็นว่าภูมิประเทศแถบนี้มีหินปูนโผล่ขึ้นจากดินกระจายอยู่คล้ายภูเขาย่อ ส่วน จึงนำพรรณไม้ทั้งที่เป็นพรรณไม้ท้องถิ่นและพรรณไม้ต่างประเทศ มาจัดวางให้เป็นหมวดหมู่สวยงาม เช่น สนบอนไซต่างประเทศ ปรงแคระ ต้นหางจระเข้จากทวีปแอฟริกา ต้นแมกโนเลีย เมเปิ้ลหอม แปะก้วยหรือกิงโก ฯลฯ ให้ได้ชมกัน รวมทั้งมีพืชเฉพาะถิ่นหายากหลายชนิด เช่น เฟินข้าหลวงอ่างขาง ต้นหูเสือหมอคาร์ มีลำต้นและดอกคล้ายต้นแอฟริกันไวโอเล็ต เป็นต้น

-สวนสมุนไพรชาวเขา ที่น่าสนใจ เช่น สบู่เลือด ไม้เลื้อยที่มีส่วนหัวสะสมอาหารขนาดใหญ่ น้ำยางสีแดงคล้ายเลือด ใช้บำรุงกำลัง จะค้านหัววอก พืชจำพวกพริกไทยที่ชาจีนฮ่อใช้แก้อาการอ่อนเพลีย ม้าสามต๋อนใช้บำรุงกำลัง และยังมีสมุนไพรอีกสารพัด ชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเทือกเขาแถบนี้

บ้านคุ้ม เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่รอบสถานีเกษตรฯ ประกอบไปด้วยคนหลายเชื้อชาติ เช่น ไทยใหญ่ พม่า และจีนฮ่อซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่มานานแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าและที่พักเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยว มีทั้งที่เป็นตึกแถวและหลังคาทรงสามเหลี่ยม

บ้านขอบด้ง เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ามูเซอดำ (ลาหู่นะ) อยู่ห่างจากสถานีเกษตรฯ ประมาณ 3 กม. แต่เดิมชาวลาหู่นะถือผีหรือเทวดา ชื่อว่า “กือซา” สามารถบันดาลความสุขหรือความทุกข์แก่มนุษย์ได้ ต่อมาเปลี่ยนไปถือศาสนาคริสต์หรือพุทธบ้าง สมัยก่อนชาวลาหู่นะปลูกข้าวไร่และพืชผลต่างๆ รวมถึงฝิ่น ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมให้ปลูกสตรอเบอรี่ ซึ่งทำรายได้ดีกว่าการปลูกฝิ่นมาก ชาวลาหู่นะยังมีฝีมือในการถักกำไลจากหญ้า “ชิ” หรือ “ชิปุแค” ซึ่งแต่ละวงมีสีสันและลวดลายไม่เหมือนกันเลย ถือเป็นศิลปะแบบดั้งเดิมที่น่าสะสม ที่บ้านขอบด้งยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ฉายแสงแรกของวันที่มีความสวยงามอีกด้วย

บ้านนอแล อยู่ห่างจากสถานีเกษตรฯ ประมาณ 7 กม. เป็นหมู่บ้านของชาวเขาเผ่า “ปะหล่อง” อยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า โดยอพยพอยู่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2527

“ปะหล่อง” เป็นชื่อที่ชาวไทยใหญ่ใช้เรียก แต่พวกเขาเรียกตัวเองว่า “ดาระอั้ง” นับถือทั้งผีและพุทธปะปนกัน มีภาษาพูดของตนเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน ติดต่อกับคนนอกเผ่าด้วยภาษาไทยใหญ่ลักษณะเด่นของชาวเขาเผ่านี้คือ ผู้หญิงทั้งเด็ก สาว และคนชรา จะสวมห่วงที่ทำจากหวายชุบยางรักจนเป็นมันวาว หรือห่วงโลหะไว้ที่เอวตลอดเวลาทั้งยามทำงาน เข้าป่า หรือนอน โดยใช้เชือกผูกรั้งไว้กับบ่า

ปัจจุบัน “ปะหล่องนอแล” ได้รับการส่งเสริมจากสถานีเกษตรฯ ให้ปลูกพืชผักเมืองหนาว โดยเฉพาะกุหลาบ นักท่องเที่ยวสามารถชมและเลือกซื้อได้

ดูนกบนอ่างขาง ด้วยพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง ประกอบด้วยทุ่งกสิกรรม ป่าดงดิบ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ดอยอ่างขางจึงพบนกหลากหลายชนิด ทั้งที่เป็นนกประจำถิ่น เช่น นกปรอดภูเขา นกกางเขนน้ำหัวขาว นกปากนกแก้วอกลาย หรือนกอพยพในช่วงฤดูหนาว เช่น นกอีเสือหลังแดง นกเดินดงชนิดต่างๆ ถ้าไปช่วงดอกซากุระบานจะพบนกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า และนกแว่นตาขาวได้ง่ายๆ เพราะนกจะมากินน้ำหวานจากดอกซากุระ

สถานที่ดูนกที่น่าสนใจคือ บริเวณทางเดินหลังหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง นอกจากนี้ตามป่าเล็กๆ หรือไร่ท้อข้างทาง ก็มีนกหลายชนิดให้ดูอีกด้วย

ภูชี้ฟ้า

ภูชี้ฟ้า

ภูชี้ฟ้าเป็น จุดชมทะเลหมอกที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งไม่ควรพลาด ภาพขณะดวงตะวันค่อยๆ โผล่พ้นขอบฟ้าและทะเลหมอกขาวแผ่คลุมกว้างไกล มียอดดอยโผล่เหนือทะเลหมอกราวเกาะแก่ง กับแนวหน้าผาอันชันเป็นเอกลักษณ์จนกลายเป็นจุดถ่ายภาพยอดฮิต คือความงามที่สะกดตาผู้มาเยือนในท่ามกลางความหนาวเย็นทุกคน

ภูชี้ฟ้ามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,600 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของเทือกดอยผาหม่นซึ่งอยู่ตรงรอยต่อพรมแดนไทย-ลาว เมื่อทะเลหมอกจางแล้วจะเห็นแม่น้ำโขงไหลขนานไปกับแนวเทือกเขาดอยผาหม่น

การมาชมทะเลหมอกที่ภูชี้ฟ้าไม่สามารถพักแรมบนยอดดอยนักท่องเที่ยวต้องเดิน จากบริเวณลานจอดรถขึ้นไปถึงยอดภู โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที ดังนั้นจึงควรเตรียมตัวให้มาถึงก่อนรุ่งสาง ช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ดอกนางพญาเสือโคร่งตามริมทางเดินจะผลิดอกงามคอยต้อนรับ

– ขึ้นไปชมทิวทัศน์เวลา 04.30-18.30 น.
– ที่ทำการวนอุทยานภูชี้ฟ้า โทร.0-5391-8764 (ตู้สาธารณะ)
– สอบถามรายละเอียดข้อมูลการดินทางสู่ภูชี้ฟ้าได้ที่ศูนย์ริการนักท่องเที่ยว อ.เทิง ที่ว่าการ อ.เทิง โทร.0-5379-5345
– มีที่กางเต็นท์พักแรมใกล้สำนักงานวนอุทยานภูชี้ฟ้า ไม่เสียค่าธรรมเนียม
– ทะเลหมอกที่ภูชี้ฟ้ามีทุกวันในช่วงหน้าฝนจึงถึงหน้าหนาว แต่ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือตั้งแต่เดือน พ.ย.-ก.พ.

การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว การเดินทางไปยังภูชี้ฟ้าได้สองเส้นทาง คือ เส้นทางด้าน อ.เทิง และเส้นทางผ่าน อ.เชียงของ เส้นทางแรกใกล้และสะดวก สภาพถนนดีจนรถเก๋งสามารถไปถึงได้ จากสี่แยกแม่กรณ์ตัวเมืองเชียราย ใช้ทางหลวงหมายเลข 1020 (เชียงราย-เทิง) ระยะทาง 64 กม. ถึง อ.เทิง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1021 (เทิง-เชียงคำ) อีก 6 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1155 ที่หลักกม. 94 เป็นทางลาดยางแต่ค่อนข้างแคบ คดเคี้ยวตามไล่เขาผ่านปางค่า บ้านรักถิ่นไทย บ้านรักแผ่นดิน และบ้านแผ่นดินทอง เมื่อถึงหลัก กม.25 จะเป็นทางโค้งขึ้นเขาชัน มีแยกขวามือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1093 ซึ่งจะเลียบแนวชายแดนไทย-ลาว ไป อ.เชียงคำ จ.พะเยา ผ่านบ้านราษฎร์ภักดี (บ้านเซ็งเม้ง) ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวม้ง ระยะทางรวม 11 กม. มีทางแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกทางไปจุดชมวิวภูชี้ฟ้า ทางช่วงนี้ลาดยางเรียบ แต่สูงชันและคดเคี้ยว ระยะทาง 1.7 กม. ผ่านที่ทำการรวนอุทยานภูชี้ฟ้า ไปสิ้นสุดที่ลานจอดรถ

หากมาจาก อ.เชียงของ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1020 (เชียงของ-เทิง) ระยะทาง 15 กม. จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1155 มีป้ายบอกทางไปภูชี้ฟ้า เห็นได้ชัดเจน ระยะทาง 95 กม. ขับรถตามทางหลวงหมายเลข 1155 ผ่าน อ.เวียงแก่น (กม.70) สามแยกบ้านปางหัด ทางแยกขึ้นดอยผาตั้ง(กม.52)เมื่อถึงหลัก กม.42 เป็นถนนลูกรังอัดแน่นไปจนถึงหลัก กม.28 จากนั้นถนนจะไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1093 ตรงหลัก กม.27 เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1093 ไปภูชี้ฟ้า อีก 11 กม. เช่นเดียวกับเส้นทางจาก อ.เทิง

หรือถ้าไปเที่ยวชมดอยผาตั้ง ก็สามารถเดินทางต่อไปภูชี้ฟ้าได้ แต่ควรใช้รถกระบะหรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อ เพราะถนนค่อนข้างคดเคี้ยวสูงชัน บางช่วงเป็นลูกรังอัด โดยจากดอยผาตั้ง ใช้ทางหลวงหมายเลข 1093 ระยะทางประมาณ 20 กม. ผ่านหมู่บ้านตามแนวชายแดน คือ บ้านร่มฟ้าผาหม่น ร่มฟ้าไทยงาม ร่มฟ้าหลวง ศูนย์ศิลปาชีพบ้านร่มฟ้าทอง สภาพเส้นทางเป็นถนนลาดยาง สลับกับลูกรังอัดเป็นช่วงๆ ไปบรรจบกับทางแยกซ้ายทางหลวงหมายเลข 1093(ไปบ้านฮวก อ.เชียงคำ) ซึ่งผ่านทางแยกขึ้นภูชี้ฟ้า

รถประจำทาง นั่งรถบัสสีฟ้าขาวสายเชียงราย-เทิง-เชียงคำหรือเชียงราย-เทิง-เชียงของ จากนั้นต่อรถสองแถวสีฟ้าสายเทิง-ปางค่า ท่ารถอยู่หลังตลาด อ.เทิง เข้าทางเข้าวัดพระนาคแก้ว ด้านข้างที่ว่าการอำเภอมีรถตั้งแต่ 06.00 น. เวลาออกไม่แน่นอน ต้องถามคนขับว่าจะไปภูชี้ฟ้าหรือไม่ ค่ารถ 50 บาท หรือเช่ารถสองแถว คิวรถอยู่หลังตลาดเทิง หรือติดต่อที่ปั๊มบางจาก โทร.0-5366-9100

สิ่งน่าสนใจ
ผาชี้ฟ้า เป็นหน้าผาหินที่มีลักษณะโดดเด่น คือ คล้ายนิ้วชี้ที่ชี้ตรงออกไปยังทิศตะวันออก ภูชี้ฟ้าอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,600 ม. จากระดับน้ำทะเล หน้าผาหินเป็นทางลาดชัน ปกคลุมด้วยหญ้า ไม้พุ่ม และโขดหิน ไม่มีไม้ใหญ่ขึ้นเลย สามารถเดินลัดเลาะไปจนถึงสุดปลายของหน้าผาที่ยื่นออกไปได้ แต่จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายภาพจะเป็นหมู่หินใหญ่ริมหน้าผา ก่อนถึงปลายสุดของภูชี้ฟ้าประมาณ 300 ม.

ชมทะเลหมอก จากภูชี้ฟ้าสามารถมองลงไปเห็นหมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขา ในเขต ต.เชียงตอง ฝั่งลาว และเทือกเขาสลับซับซ้อน ไกลออกไปลิบๆ คือแม่น้ำโขงที่ไหลขนานไปกับเทือกดอยผาหม่น ในช่วงเช้าตรู่ หุบเขาเบื้อล่างจะปกคลุมด้วยสายหมอก ทิวทัศน์จะยิ่งงดงาม เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ภูชี้ฟ้าหันไปทางทิศตะวันออก จึงเป็นจุดชมพระอาทิตย์ที่ได้รับความนิยมมาก นักท่องเที่ยวจะออกจากที่พัก เริ่มเดินเท้าขึ้นไปยังจุดชมวิวตั้งแต่ก่อนสว่าง

น้ำตกหมอกฟ้า

น้ำตกหมอกฟ้า

น้ำตกหมอกฟ้า น้ำตกหมอกฟ้ามีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เป็นน้ำตกชั้นเดียว แต่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี และมีบรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ

ที่ตั้งและการเดินทาง ถ.แม่มาลัย-ปาย (ทางหลวงหมายเลข 1095) เลี้ยวซ้ายเข้าไปตามถนนลูกรังตรงระหว่าง กม. 18-19 อีก 2 กม.จะถึงหน่วยพิทักษ์ อช. เป็นทางลูกรังที่ลาดชันสลับกับถนนคอนกรีต ควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ ฤดูฝนต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะทางลื่น รถประจำทาง หรือนั่งรถสองแถวสายแม่มาลัย-ป่าแป่ มาจากตลาดแม่มาลัย จากปากทางไม่มีรถโดยสารเข้าไป

สิ่งน่าสนใจ
นักท่องเที่ยวต้องเดินจากที่ทำการไปประมาณ 350 ม. จึงจะถึงตัวน้ำตก ตลอดทางมีพันธุ์ไม้ต่างๆ เช่น เฟิน กล้วยไม้ เต็มไปหมด นับเป็นเส้นทางที่สวยงามเส้นทางหนึ่ง

น้ำตกหมอกฟ้าเป็นน้ำตกชั้นเดียวซึ่งมีน้ำไหลตลอดทั้งปี เกิดจากต้นน้ำในภูเขา อ.แม่แตง แฝงตัวอยู่ท่ามกลางแมกไม้อันเขียวครึ้ม สายน้ำที่ตกลงมาจากเชิงผาที่สูงราว 20 ม. ลงสู่แอ่งน้ำเป็นภาพที่สวยงามยิ่ง นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบน้ำตกควรไปเที่ยวชม

นั่งเรือชมทิวทัศน์ที่เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

นั่งเรือชมทิวทัศน์ที่เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2520 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2528 เพื่อใช้เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ทั้งการชลประทานและการผลิตไฟฟ้า เป็นเขื่อนดินเหนียว สูง 59 ม. สันเขื่อนยาว 1,950 ม.จุน้ำได้สูงสุด 325 ลบ.ม.

ที่ตั้งและการเดินทาง อ.แม่แตง ใช้ทางหลวงหมายเลข 107(เชียงใหม่-ฝาง)เลี้ยวขวาระหว่าง กม.41-42 เข้าไปอีก 11 กม. ผ่าน รพ.แม่แตง ตู้ยามตำรวจช่อแล ก็จะถึง

สิ่งน่าสนใจ
– นั่งเรือชมเขื่อน นักท่องเที่ยวที่มีเวลาไม่มากนักสามารถเช่าเหมาเรือหางยาวแบบมีหลังคา นั่งชมทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำกว้างเหนือเขื่อนแม่งัด น้ำในเขื่อนเป็นสีเขียวแวดล้อมด้วยป่าเต็งรังจะงดงามมากเป็นพิเศษช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. เมื่อป่าเริ่มเปลี่ยนสี และน้ำในเขื่อนใสมาก บางครั้งสามารถมองเห็นฝูงปลาได้

– พักเรือนแพ เรือนแพพักอยู่ด้านใน ห่างจากสันเขื่อนไปทางเรือประมาณ 15 นาที เป็นเรือนแพไม้ไผ่ บรรยากาศเงียบสงบสามารถลงเล่นน้ำ ตกปลา อาหารขึ้นชื่อที่ทำจากปลาสดๆ คือ ปลาช่อนทอด ปลาบู่นึ่งบ๊วยหรือนึ่งมะนาว ปลายี่สกทอดหรือแกงป่า

– ชมนกชมปลา จุดชมนกอยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 500 ม. เป็นพื้นที่โล่งใกล้อ่างเก็บน้ำแม่งัด ในฤดูหนาวจะมีนกอพยพจำนวนมาก เช่น นกกระเต็นน้อยธรรมดา เป็ดแดง นกชายเลนต่างๆ ส่วนจุดชมปลาอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำ ห่างจากที่ทำการประมาณ 100 ม. ปลาที่มีมากคือ ปลาสวายและปลายี่สก จากจุดนี้จะมองเห็นทิวทัศน์เหนืออ่างเก็บน้ำได้เป็นอย่างดี

เวียงกุมกาม

เวียงกุมกาม

 
เป็นเมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้านเพื่อไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22ปัจจุบันเวียงกุมกาม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก การเดินทาง เข้าทางตู้ยามหนองหอยและตรงมาจนทะลุแยกเกาะกลางป่ากล้วยตรงต่อไปจนถึงตู้ยามเจดีย์เหลี่ยมชาวบ้านจัดบริการรถราง และรถม้า เพื่อพานักท่องเที่ยวชมโบราณสถานเวียงกุมกามจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดธาตุน้อย วัดช้างค้ำ วัดธาตุขาว วัดพญามังราย วัดพระเจ้าองค์ดำ กู่ป้าด้อม วัดปู่เปี้ย วัดหนานช้าง และวัดอีก้าง ใช้เวลานำชมประมาณ 45 นาที ค่าบริการรถม้า 250 บาท รถรางคนละ 15 บาทหรือเหมาคันประมาณ 400 บาท นอกจากนี้ยังรับจัดกิจกรรมเลี้ยงขันโตกและสาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้านบริเวณเวียงกุมกาม สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. +668 6193 5049, +668 1027 9513

ประวัติวัดเจดีย์เหลี่ยม
วัดเจดีย์เหลี่ยม หรือ เจดีย์กู่คำ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญามังราย เมื่อปี พ.ศ. 1831 กล่าวคือ หลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพมาตีเมืองลำพูนแล้วทรงมอบเมืองลำพูนให้อำมาตย์คนสนิทชื่อ อ้ายฟ้า ครองเมืองแทน ส่วนพระองค์ก็ยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ได้ 5 ปี จึงยกทัพไปสร้างเมืองใหม่อยู้ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ. 1820 ให้ชื่อเมืองนี้ว่าเวียงกุมกาม จนถึงปี พ.ศ. 1830 พระองค์ทรงให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์มาจากวัดจามเทวีลำพูน เพื่อนำมาสร้างให้เป็นที่สักการะแก่คนทั้งหลาย

หลังจากนั้นมาเป็นเวลาหลายร้อยปี วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า เกิดความเลื่อมใส ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินการ จึงมีศิลปแบบพม่าเข้ามาแทนที่ศิลปแบบขอม ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม คงมีแต่โครงสร้างที่ยังเป็นรูปเดิมอยู่เท่านั้น

เป็น เมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้านเพื่อไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22

ปัจจุบัน เวียงกุมกาม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก การเดินทาง เข้าทางตู้ยามหนองหอยและตรงมาจนทะลุแยกเกาะกลางป่ากล้วยตรงต่อไปจนถึงตู้ยาม เจดีย์เหลี่ยม

ชาวบ้านจัดบริการรถราง และรถม้า เพื่อพานักท่องเที่ยวชมโบราณสถานเวียงกุมกามจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดธาตุน้อย วัดช้างค้ำ วัดธาตุขาว วัดพญามังราย วัดพระเจ้าองค์ดำ กู่ป้าด้อม วัดปู่เปี้ย วัดหนานช้าง และวัดอีก้าง ใช้เวลานำชมประมาณ 45 นาที ค่าบริการรถม้า 250 บาท รถรางคนละ 15 บาทหรือเหมาคันประมาณ 400 บาท นอกจากนี้ยังรับจัดกิจกรรมเลี้ยงขันโตกและสาธิตภูมิปัญญาพื้นบ้านบริเวณ เวียงกุมกาม สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. +668 6193 5049, +668 1027 9513

ประวัติวัดเจดีย์เหลี่ยม
วัด เจดีย์เหลี่ยม หรือ เจดีย์กู่คำ สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญามังราย เมื่อปี พ.ศ. 1831 กล่าวคือ หลังจากที่พระองค์ได้ยกทัพมาตีเมืองลำพูนแล้วทรงมอบเมืองลำพูนให้อำมาตย์คน สนิทชื่อ อ้ายฟ้า ครองเมืองแทน ส่วนพระองค์ก็ยกทัพไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ได้ 5 ปี จึงยกทัพไปสร้างเมืองใหม่อยู้ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อปี พ.ศ. 1820 ให้ชื่อเมืองนี้ว่าเวียงกุมกาม จนถึงปี พ.ศ. 1830 พระองค์ทรงให้ช่างไปถ่ายแบบพระเจดีย์มาจากวัดจามเทวีลำพูน เพื่อนำมาสร้างให้เป็นที่สักการะแก่คนทั้งหลาย

หลังจากนั้นมาเป็น เวลาหลายร้อยปี วัดนี้ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง จนถึงปี พ.ศ. 2451 มีคหบดีชาวพม่าคนหนึ่งได้มาเห็นเข้า เกิดความเลื่อมใส ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยให้ช่างชาวพม่าเป็นผู้ดำเนินการ จึงมีศิลปแบบพม่าเข้ามาแทนที่ศิลปแบบขอม ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม คงมีแต่โครงสร้างที่ยังเป็นรูปเดิมอยู่เท่านั้น

หมวดหมู่: สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์

ภาษาที่มีให้บริการ: ไทย

อำเภอ กัลยาณิวัฒนา วัดจันทร์ จ.เชียงใหม่

เที่ยวอำเภอใหม่ อำเภอ กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ททท.เชียงใหม่ เปิดโครงการเปิดตัวแหล่งท่องเที่ยวอำเภอกัลยาณิวัฒนาอำเภอแห่งใหม่ของเชียงใหม่
ท่ามกลางความงดงามของธรรมชาติและวิถีชีวิตของชุมชน ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยว
โดยชุมชน ร่วมจัดการอย่างยั่งยืน กระตุ้นและสร้างความตระหนักในการร่วมกันอนุรักษ์สืบสาน หวังสร้างแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพแห่งใหม่ให้ชาวโลกโหยหา

วัตถุประสงค์ของการเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ี้ ต้องการประชาสัมพันธ์และเปิดตัวแหล่งท่องเที่ยวใหม่
ที่มีคุณภาพ ให้เป็นที่ รู้จักมากขึ้น ส่งเสริม สนับสนุนสินค้า ทางการท่องเที่ยว ของจังหวัดเชียงใหม่
ส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน
อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ชุมชนเข้าใจตระหนัก
เห็นความสำคัญ ในการร่วมกัน อนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น
วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ที่พอเพียง
และเป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์วิถีชีวิต และวัฒนธรรมรวมทั้งภูมิปัญญาของท้องถิ่น
อำเภอกัลยาณิวัฒนาแห่งนี้ เพื่อจะให้นักท่องเที่ยว
และผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว ได้ทราบและกระตุ้นให้
เกิดกิจกรรมทางการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนสืบไป
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้คาดการณ์ว่า แหล่งท่องเที่ยวใหม่แห่งนี้จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ขึ้นชื่อด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมและธรรมชาติ
ของผืนป่าอันงดงาม ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่อื่นใด
หรืออำเภอปาย แม่ฮ่องสอน สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในเวลานี้ โดยเชื่อว่าจะเป็นดินแดนที่มีมนต์ขลังตรึงใจ
นักท่องเที่ยว
ที่ได้มาสัมผัสและเยือนในที่แห่งนี้ที่จะมี
ทุกรสชาติของการเดินทาง และพักผ่อนหย่อนใจ
ทั้งจะเกิดเม็ดเงินสะพัดเพิ่มขึ้นอีกปีละหลายร้อยล้านบาท
หากสถานที่แห่ง นี้เป็นที่รู้จักและผู้คนได้รับความประทับใจ ซึ่งจะเกิดการท่องเที่ยวซ้ำจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่เมื่อทุกคนมา เชียงใหม่ก็ต้องไปที่แห่งนี้


วัดสวนดอก หรือ วัดบุปผาราม

วัดสวนดอก หรือ วัดบุปผาราม

ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ ในเขตอำเภอเมือง
พระเจ้ากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1914
เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ล้านนาไทย
สมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ
เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่ และวิหารโถงนอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซี่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้น เป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย